REUTERS PICTURES 2 DAYS AGO Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of Thailand

14 February 2011 Statement by Kasit Piromya,at UNSC ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ นายกษิต ภิรมย์


Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of Thailand,
REUTERS PICTURES 2 DAYS AGO

Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of Thailand, addresses the media during a Security Council news conference at the United Nations in New York, February 14, 2011.


Statement by His Excellency Mr. Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of Thailand, at the United Nations Security Council, New York, 14 February 2011
ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

http://wp.me/p3uK8h-I3
Kasit Piromya, UNSC, ถ้อยแถลง, กษิต ภิรมย์


UN security council logo

Thai – Cambodian Situation

– Statement by His Excellency Mr. Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of Thailand, at the United Nations Security Council, New York, 14 February 2011

February 16, 2011, 6:43 pm

On 14 February, 2011, Foreign Minister Kasit Piromya delivered his statement at the meeting of the United Nations Security Council (UNSC) in New York on the skirmishes along the Thai-Cambodian border 4-7 February 2011.

In his statement, the Foreign Minister reaffirmed to the UNSC that Thailand and Cambodia are close neighbours – with shared interest – and have to live together side by side, and that Thailand harbours no ill-intention towards Cambodia.  He also informed the UNSC members of the facts concerning the clashes and rectified any misunderstanding or confusion they might have regarding the Thai-Cambodian relations. The Foreign Minister reaffirmed that Thai troops never fired first and had always exercised maximum restraint. Nevertheless, in the face of the violations of Thai sovereignty and attacks on Thai civilians and property, they had no choice but to respond in self-defence and on the basis of necessity and proportionality, aiming only at military targets. He also stressed that Thailand has always attached great importance to maintaining and promoting friendly relation with Cambodia. The two countries have cooperated in many areas, and Thais and Cambodians are like siblings, with much commonality in culture and way of life.  Thailand therefore has no reason to instigate any conflict with Cambodia.

Foreign Minister Kasit underscored Thailand’s commitment to continue its efforts to resolve the problem peacefully through existing and ongoing bilateral mechanisms. This, he noted, is the best solution.  In this connection, he reiterated Thailand’s invitation extended to Cambodia to participate in the meeting of the Joint Commission for Demarcation of Land Boundary (JBC) proposed to be held in Thailand in late February 2011. At the same time, he expressed Thaialnd’s appreciation for the support and encouragement from ASEAN, which could play a part in providing support for the bilateral process as appropriate. Thailand is scheduled to attend the informal meeting of the ASEAN Foreign Ministers in Jakarta on 22 February 2011. (See the link below for the full text of the Foreign Minister’s statement.)

After the UNSC meeting, the Permanent Representative of Brazil to the United Nations, as the UNSC President, made her remarks to the media that the UNSC members called on the two sides to display maximum restraint and avoid any action that may aggravate the situation.  They urged the parties to establish and fully implement a permanent ceasefire, as well as to resolve the situation peacefully through effective dialogue. The UNSC members also expressed support for ASEAN’s active efforts in this matter and encouraged the parties to continue to cooperate with the organization in this regard.

********************

14 February 2011


Statement by His Excellency Mr. Kasit Piromya,

Minister of Foreign Affairs of Thailand,at the United Nations Security Council, New York, 14 February 2011

Statement by His Excellency Mr. Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of Thailand, at the United Nations Security Council, New York, 14 February 2011

 

Madam President,

I would like to extend to you, on behalf of my delegation, our sincere congratulations on your assumption of the Presidency of the Security Council for the month of February 2011. I also wish to extend my good will to all friends in the Security Council.

 

Allow me to extend my delegation’s greetings to His Excellency Hor Namhong, the Deputy Prime Minister and Foreign Minister of Cambodia, whom I have known well as an ASEAN colleague and have been working closely with for several years. My delegation’s greetings also go to my dear colleague His Excellency Marty Natalegawa, the Foreign Minister of Indonesia, who is presently the ASEAN Chair.

 

Madam President,

 

It is with a heavy heart that I have come here today to speak about Thailand and Cambodia, our neighbour and a fellow member of the ASEAN family. It is a sad irony that only in the morning of 4 February in Siem Reap, Cambodia, I had a very productive and cordial meeting with my Cambodian counterpart during the Thailand – Cambodia Joint Commission for Bilateral Cooperation (JC). I left that meeting believing in the bright future of our relations. It is also sad that two members of the ASEAN family have to come here to talk about their bilateral problem, despite the fact that ASEAN made a decision that such matter should best be addressed directly between the parties concerned.

 

Madam President,

 

I am here to explain to our friends in the Security Council with facts. I intend to: first, put this issue before us in its proper perspective; second, inform the Council of facts of what really happened at only one area along the 800 kilometres long border between Thailand and Cambodia; third, reveal what was actually behind incidents that occurred; fourth, get the facts straight on key issues and debunk the myths being promoted by Cambodia; and, finally, lay out the way forward that Thailand and ASEAN are committed to.

 

 

First, it is important to put the issue before us in a broader and proper perspective. To do so, I ask my Security Council colleagues to put aside for a moment the television images and bellicose rhetoric. Picture, if you will, two neighbouring countries sharing a common border approximately 800 kilometres or about 500 miles long. All along this border, people continue to trade, visit one another, and engage in peaceful activities everyday throughout the year. Thais and Cambodians are like relatives with similarities in culture and way of life.

But like in all parts of the world, relations between two neighbouring countries sharing common border are like siblings. Thailand and Cambodia are no exception. Frankly, there have been ups and downs, good times and bad times, in our relations. But whenever problem arose, we have always solved them together through consultations and dialogue. Then, we move on in a win-win manner. We succeeded in overcoming all past bilateral challenges because both countries recognize that, as neighbours and members of an emerging ASEAN Community, we will have to live together side by side. We cannot move our country away from each other. 2 Second, it is important to get the facts straight regarding what really took place on 4 – 7 February. I wish to underline that, in each of these incidents, Thai soldiers never fired first. On the contrary, on 4 February, Cambodian troops opened fire at Thai military personnel inside Thai territory. This was followed by a barrage of heavy shelling.

 

, it is important to get the facts straight regarding what really took place on 4 – 7 February. I wish to underline that, in each of these incidents, Thai soldiers never fired first. On the contrary, on 4 February, Cambodian troops opened fire at Thai military personnel inside Thai territory. This was followed by a barrage of heavy shelling.

 

Ironically, the Cambodian attack was launched only a few hours after the successful and cordial Joint Commission meeting, which my Cambodian counterpart and I co-chaired in Siem Reap. The meeting was attended by senior civilian and military officials of both countries. In fact, my delegation and I only learned about the incident after landing at Phnom Penh Airport to visit Thai citizens in the capital. It simply does not make sense at all for Thai soldiers to open fire at Cambodian soldiers first while the Thai Foreign Minister and senior officials were still in Phnom Penh.

 

The Cambodian Prime Minister himself all but admitted that Cambodia opened fire first. In one of his fiery speeches attacking Thailand on 7 February, he said it did not matter “who started the shooting”. How can it not matter? When one side starts shooting at another’s civilians and troops, one can expect the other side to defend itself and its people.

 

Madam President,

 

Thailand has always kept our end of any agreement and expects Cambodia to do the same. Regrettably, our expectations were dashed by what Cambodia did on the ground. Let me give an example.

 

Following the incidents in the afternoon of 4 February and again in the early morning of 5 February, both of which were initiated by Cambodia, both Thai and Cambodian regional military commanders met at Chong Sa-ngam Pass, Si Sa Ket Province, Thailand, in the late morning of 5 February. At that meeting, they reached an agreement on immediate ceasefire and other measures to ease tension.

 

However, on 6 February, at 18.30 hours, Cambodian troops breached the said agreement by firing illumination flares into the sky followed by heavy shelling into Chong Don Ao Pass and Phu Ma Khua in Thai territory. The attacks then expanded to other areas in Thai territory, namely Sattasom Hill, Phlan Yao, Chong Ta Thao Pass, the area near the Temple of Phra Viharn, and Phum Srol village which is situated five kilometres deep inside Thai territory, well beyond any Thai military posts. In these attacks, Cambodian troops used multiple weapons, including AK-47s, rocket propelled grenades and BM-21 field rockets. In the morning of 7 February, Cambodian troops again opened fire at Thai military personnel stationed at Phu Ma Khua and Phlan Yao in Thai territory using weapons such as rocket propelled grenades.

 

These incidents resulted in severe destruction of many civilian structures and injury to many Thai civilians and military personnel. Two soldiers and two civilians, including one child, lost their lives. Approximately 20,000 innocent Thai villagers where the attacks took place had to be evacuated. The images of this destruction shocked the entire nation as we never imagined that, in our lifetime, Thais could become refugees in our own country.

 

Throughout these incidents, Madam President, Thailand has always exercised the utmost restraint. But in the face of such blatant violations of our sovereignty and territorial integrity and unprovoked attacks on Thai civilians and property, Thailand had no choice but to 3

 

exercise our inherent right to self-defence. Such exercise was carried out with maximum restraint and on the basis of necessity, proportionality and strictly directed at military targets from where the Cambodian attacks were launched.

We also find it deplorable that Cambodian soldiers have used the Temple of Phra Viharn for military purposes in violation of international law. Despite words of denial by the Cambodian side, I believe that the world has already seen with their own eyes multiple pictures of Cambodian troops using the Temple as a military camp and firing base. These pictures were taken and released by both Cambodian and international media. I need not elaborate further on this point as these pictures speak louder than words.

 

Madam President,

 

This leads to my third point. It is important to look beyond what Cambodia said but at the motive behind its pre-meditated aggressive actions. Like a Broadway play, it is important to know the plot.

The plot is that, for Cambodia, they need to create a situation along the border near the Temple of Phra Viharn to justify its political strategy of bypassing ongoing bilateral negotiations and internationalizing what is essentially a bilateral issue. One example is the Cambodian attacks on 6 February which were intentionally launched immediately after sunset. The systematic use of illumination flares to guide shelling underlined beyond any doubt that these attacks were pre-meditated and planned in advance. The swiftness of the release of the letter from the Prime Minister of Cambodia to the President of the Security Council calling for an urgent meeting, shortly after the Cambodian attacks started, only confirms the pre-meditated nature of the attacks.

 

Madam President,

 

The ultimate goal of this plot is clear: to bypass the ongoing bilateral boundary negotiations and to use the hand of the United Nations to bulldoze the way for its push at the upcoming World Heritage Committee meeting scheduled to be held in Bahrain in the middle of this year to approve its proposed management plan of the Temple of Phra Viharn despite its inherent problems. Ongoing bilateral boundary negotiations with Thailand in the area near the Temple have become an obstacle to the pursuit of the immediate political objective of Cambodia, and therefore, had to be removed out of the way.

 

It is important to point out that, throughout modern Cambodian history, the border issue has always been an effective political tool for domestic politics, with the border with Thailand as the most convenient and effective card of choice. Thailand has become a convenient boogeyman in Cambodian politics. Today, this tactic is being used once again.

 

Madam President,

 

Nothing can justify this type of military tactic for political ends. Nothing can justify playing games with people’s lives for political ends. The Security Council should not encourage this type of tactic.

 

Here, I wish to emphasise in the clearest and sincerest terms that Thailand harbours no ill-intention towards Cambodia. How could we? All we have is friendship, good faith and seriousness in working together with Cambodia for our common benefit. 4

 

We have attached great importance to maintaining and promoting friendly relations with Cambodia. We gave refuge to millions of Cambodian refugees. We were supportive of the peace process in Cambodia with Thai soldiers participating in peacekeeping efforts in Cambodia under the United Nations and were active in the reconstruction of Cambodia. We have substantial trade and investment relations with Cambodia. We have consistently provided assistance to Cambodia in many areas, such as human resources development, public health, agriculture, infrastructure, science and technology. In short, peace and prosperity of Cambodia is peace and prosperity of Thailand.

 

In this connection, Thailand has neither the intention nor the desire to seize territory of a neighbouring country. We only want to live in peace and harmony with all our neighbours. We do not want conflict. We do not want to see innocent people injured, lose their lives or have their livelihoods disrupted. Although Cambodia suffered so much from its internal political problems, it does not mean that Cambodia has a blank cheque to do anything it wants without regard to what is right and international law. In this case, Cambodia simply launched attacks on Thailand and then cried wolf to call attention and place blame on the attacked neighbour.

 

With regard to the Cambodian request for ceasefire, Thailand has no problem with it. We are committed to peace, never opened fire first, and have always upheld our end of the agreement to ease tension. The request should instead be directed at the Cambodian side so that they keep their agreement. The Thai side will continue to exercise maximum self-restraint against provocations.

 

Madam President,

 

Let me turn to the fourth point. It is imperative for me to debunk the main myths being promoted by Cambodia which may have led to confusion for many of our friends.

One, Thailand has fully complied with the Judgment of the International Court of Justice (ICJ) in 1962 regarding the Temple of Phra Viharn. The ICJ itself ruled that it did not have jurisdiction over the issue of boundary between Thailand and Cambodia and rejected Cambodia’s efforts to extend the scope of the Judgment to cover such matter. The map that Cambodia used as the basis for its case is not annexed to the ICJ Judgment and therefore has no legal status as a part of the Judgment as claimed by Cambodia. It was merely annexed to the submission by Cambodia to the ICJ.

 

Importantly, it has been a common understanding of Thailand and Cambodia

 

that the issue of boundary be settled by bilateral negotiations through mutually agreed frameworks. The Memorandum of Understanding between Thailand and Cambodia on the Survey and Demarcation of Land Boundary in the Year 2000 is a clear and concrete testament of Cambodia’s acceptance that the whole stretch of the boundary still remains to be settled by bilateral negotiations. This MOU states that the Joint Boundary Commission (JBC) shall, among other things, “produce maps of the surveyed and demarcated land boundary”.

 

For Thailand, we are determined to peacefully resolve all border issues, including issues relating to the area surrounding the Temple of Phra Viharn, in accordance with international law and bilateral agreements through established bilateral frameworks and 5

 

mechanisms, notably the aforesaid MOU and the JBC mechanism to which both countries have committed themselves.

 

Two, the ongoing tension is a direct result of the unilateral attempt by Cambodia to inscribe the Temple of Phra Viharn on the World Heritage List, despite the fact that the surrounding area remains subject to bilateral negotiations under the JBC. Prior to this, villagers on both sides, many of whom are actually related, lived together peacefully and tourists were able to visit the Temple without any problem. Acknowledging the Temple’s cultural and historical value and the urgent need for its restoration, Thailand even offered assistance to Cambodia to restore the Temple. This offer still stands until today.

 

Meanwhile, it is imperative that the World Heritage Committee and the UNESCO Secretariat desist from conducting any further activities relating to this matter which would disrupt or prejudge the work of the JBC so as to create a conducive environment for a durable resolution of the current problem.

 

Cambodia itself officially admitted at the latest World Heritage Committee meeting in Brasilia in July last year that the management plan of the Temple shall be subject to the conclusion of the work of the JBC and I quote:

 

“The State Party of Cambodia, in its report, clarified that a finalized map will only be possible when the demarcation of the border is materialized on the ground upon the agreement by the State Parties of Cambodia and Thailand of the final results of the work of the Joint Boundary Commission (JBC).”

 

Three, bilateral mechanisms have not been exhausted and Thailand is committed to this process in good faith. We believe that the border issue between both countries should best be resolved between the two countries concerned. As shown by many cases of border disputes around the world, bilateral process takes time and cannot be rushed. Resolving border disputes requires patience and good faith in reaching a mutually acceptable outcome. For example, the People’s Republic of China and the Russian Federation successfully reached an agreement on boundary issue in 2008 after more than 40 years of negotiations.

Thailand had waited over 30 years for Cambodia to resolve its internal problems before the negotiation on the survey and demarcation of land boundary could start. Thailand fully understood Cambodia’s constraints at the time. We did not push or pressure Cambodia until it was ready.

 

In this connection, Thailand wishes to stress that it has never been the intention of the Thai Government to delay Parliamentary approval of the Agreed Minutes of the previous three Thailand-Cambodia Joint Boundary Commission (JBC) meetings. The Agreed Minutes must be submitted to and are now being considered by the Thai Parliament in accordance with the constitutional procedure of Thailand.

 

As in other democracies, the Thai Government, as the executive branch, cannot dictate the legislative branch. However, the Government has been making every effort to ensure the earliest endorsement of the Agreed Minutes by Parliament. I am pleased to inform the Council that the President of the ad hoc Parliamentary Committee tasked by Parliament to consider the Agreed Minutes of the JBC meetings has recently announced that the Committee has concluded its consideration and will soon submit its recommendation to Parliament. It is therefore inappropriate for Cambodia to prejudge the consideration of the Thai Parliament. 6

Last Friday, after lengthy process, the Thai Parliament approved a Government-proposed amendment of a provision in the Constitution concerning the treaty making process. The amendment removed uncertainties in the treaty making process. This is another evidence of the seriousness of the Government.

 

I also wish to point out that in the Joint Commission meeting in Cambodia on 4 February, as reflected in the official record of the meeting, Cambodia expressed its understanding of Thailand’s internal parliamentary process and even hoped for its earliest completion so that both sides can proceed expeditiously with JBC works. It is perplexing that only in the space of 10 days Cambodia adopted an entirely opposite position.

 

Let me stress that Thailand is an open society and, as a transparent and accountable Government in a democratic society, the Thai Government is duty bound to listen to all views in society. As a reflection of this accountability, I personally spent 17 hours in the Parliament last week answering questions from Members of Parliament about this issue. Thailand hopes that our friends would respect our democratic process.

 

In this connection, even while the JBC Agreed Minutes are being considered by Parliament, the Thai Government has made several proposals, in good faith, to Cambodia to convene JBC meetings to push forward works relating to the land boundary. Regrettably, our proposals have been turned down. On 5 February, Thailand made a proposal to Cambodia again to convene a JBC meeting in Thailand in the last week of this month. Cambodia accepted this proposal. But on 10 February, we were once again informed by Cambodia that they did not want to meet. Nevertheless, as a reflection of Thailand’s good faith and commitment to resolving the current issue through peaceful dialogue, we sent a letter to Cambodia urging them to return to the JBC process as they had earlier agreed. I urge my Cambodian friend to accept this invitation.

 

Four, Thailand categorically denies the groundless accusation by Cambodia that Thailand used cluster munitions during the recent skirmishes. Thailand has been actively supportive of disarmament efforts, including the elimination of cluster munitions. We are seriously considering joining the Convention on Cluster Munitions.

 

Madam President,

 

This brings me to my last point: the way forward that Thailand and the region are committed to.

I wish to make clear to the Council that, despite what happened recently and how deeply regrettable they were, Thailand still believes that only by working together on the basis of friendship and good neighbourliness can the two countries overcome current problems for the benefit of the two countries and peoples. As I said earlier, there have always been ups and downs in Thailand-Cambodia relations. But problems were always contained and successfully resolved. This time is no different.

 

The border skirmishes that occurred earlier this month were limited in scope and duration. The situation is now calm. Villagers have returned to their homes and resumed their normal lives. Thailand is committed to continue doing everything we can to ensure lasting calm in the affected area. In fact, the Deputy Prime Minister and Deputy Minister of Commerce of Thailand are scheduled to travel to Phnom Penh this Thursday 17 February to 7

 

preside over the opening of the annual Thailand Trade Fair in Phnom Penh, along with the Deputy Prime Minister of Cambodia. During his stay in Phnom Penh, the Deputy Prime Minister of Thailand is also scheduled to pay a courtesy call on the Prime Minister of Cambodia.

 

At the same time, we also appreciate the support and encouragement from the ASEAN family. We welcome the visit of the Foreign Minister of Indonesia, as the ASEAN Chair, to Cambodia and Thailand for consultations on 7 and 8 February respectively. We agree with the observation made by the ASEAN Chair that the issue between Thailand and Cambodia is essentially a bilateral issue and the two countries should resolve it peacefully through bilateral consultations, while the region can provide support and encouragement as appropriate. Like Cambodia, we have agreed to the ASEAN Chair’s proposal to convene an informal ASEAN Foreign Ministers Meeting in Jakarta on 22 February.

 

Madam President,

 

In conclusion, my delegation strongly believes that Thailand and Cambodia must look to the future together, especially as we move towards becoming an ASEAN Community. We realize that the ties that bind us are much greater than the differences that divide us. We cannot move away from each other. We must live together in harmony. Any uncalled for action for the sake of short-term political expediency would risk creating another deep scar in the feeling of peoples of both countries who will have to live together long after this meeting is said and done.

 

The issue before us today is therefore essentially a political problem. It will ultimately require political will on both sides to resolve it. Thailand remains committed to working closely and in good faith with Cambodia through all existing bilateral frameworks. We have extended our hand and are waiting for the expression of genuine political will from Cambodia. We hope that, when Cambodia contemplates long and hard about the long-term future of our overall relations and the interest of the region, it will reciprocate our goodwill and sincerity. I therefore urge the Security Council to encourage the continuation of this bilateral process which can be strengthened by the support and encouragement from the ASEAN family. This approach is in the best interest of both Thailand and Cambodia and the region as a whole.

 

I thank you, Madam President.

 

 

 

 

 

ภาพที่ 2.

REUTERS PICTURES 2 DAYS AGO

Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of Thailand, addresses the media during a Security Council news conference at the United Nations in New York, February 14, 2011.

Thai – Cambodian Situation

– ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

February 16, 2011, 6:43 pm

เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่นนครนิวยอร์ก ซึ่งตรงกับเวลา ๒๒.๐๐ น. ในประเทศไทย) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงฯ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับเหตุปะทะที่ชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างวันที่ ๔-๗ กุมภาพันธ์ สรุปสาระได้ ดังนี้

รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ยืนยันว่า ไทยและกัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด มีผลประโยชน์ร่วมกัน และต้องอยู่ร่วมกันต่อไป ไทยไม่เคยมีเจตนาร้ายต่อกัมพูชา และได้แจ้งให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปะทะกันดังกล่าว รวมทั้งแก้ไขความเข้าใจผิดหรือความสับสนที่สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ อาจจะมีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา โดยยืนยันว่าทหารไทยไม่เคยเป็นฝ่ายที่ยิงฝ่ายกัมพูชาก่อน ได้ใช้ความอดกลั้นอย่างที่สุด โดยตอบโต้ต่อการละเมิดอธิปไตยและการโจมตีต่อพลเรือนและทรัพย์สินของไทยตามความจำเป็นอย่างพอเหมาะ และมุ่งต่อเป้าหมายทางทหารเท่านั้น นอกจากนี้ ไทยให้ความสำคัญต่อการรักษาและส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรกับกัมพูชามาโดยตลอด สองประเทศมีความร่วมมือในหลายด้าน และประชาชนไทยกับกัมพูชาก็เป็นเสมือนญาติพี่น้องกัน ดังนั้น ไทยจึงไม่มีเหตุผลใดที่สร้างความขัดแย้งกับกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ย้ำว่า ไทยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อไปในการพยายามแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ผ่านกลไกระดับทวิภาคีที่มีอยู่และยังดำเนินอยู่ ซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยได้ย้ำคำเชิญกัมพูชาเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ ขณะเดียวกัน อาเซียนก็สามารถเข้ามามีส่วนสนับสนุนกระบวนการทวิภาคีได้ ทั้งนี้ ไทยจะไปเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่กรุงจาการ์ตาในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์นี้ด้วย (อ่านถ้อยแถลงของรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ข้างล่างนี้)

ทั้งนี้ หลังจากที่ได้รับฟังข้อมูลจากทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาแล้ว เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรบราซิลประจำสหประชาชาติในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้แถลงต่อสื่อมวลชน สรุปว่า สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความอดกลั้นอย่างถึงที่สุด หลีกเลี่ยงการกระทำการใดๆ ที่อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไป รวมทั้งขอให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงอย่างถาวร และให้แก้ไขสถานการณ์โดยสันติวิธีผ่านการเจรจาหารือกัน นอกจากนี้ สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ สนับสนุนความพยายามของอาเซียนและขอให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องนี้ด้วย

************************

๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔


ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ นายกษิต ภิรมย์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก 14 กุมภาพันธ์ 2554

ภาพที่ 3.

REUTERS PICTURES 2 DAYS AGO

Kasit Piromya, Minister of Foreign Affairs of Thailand, addresses the media during a Security Council news conference at the United Nations in New York, February 14, 2011.

 

เปิดคำแถลงต่อ UNSC ของกษิต

ถ้อยแถลงของ นายกษิต ภิรมย์ กรณีการปะทะไทย-กัมพูชา ต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก 14 กุมภาพันธ์ 2554 มีดังนี้

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

ผมในนามคณะผู้แทนไทย ขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจต่อการเข้ารับตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554ของท่าน อีกทั้งขอส่งความปรารถนาดีมายังมิตรทั้งหลายในคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทุกท่านด้วย

 

ผมขออนุญาตส่งคำทักทายของคณะผู้แทนไทยไปยัง ฯพณฯ ฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ผู้ซึ่งกระผมรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีในฐานะเพื่อนร่วมงานในอาเซียน และได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมาหลายปี คณะผู้แทนของผมใคร่ขอทักทาย ฯพณฯ มาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในขณะนี้ด้วย

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

ผมมา ณ ที่นี่ในวันนี้ด้วยความลำบากใจที่จะต้องกล่าวเกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนบ้านและสมาชิกร่วมครอบครัวอาเซียนของไทย เป็นเรื่องขัดกันเองที่น่าเศร้าที่เมื่อตอนเช้าของวันที่ 4ก.พ. ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ผมได้ร่วมประชุมที่ประสบผลหลายด้านและเป็นกันเองกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาในระหว่างประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา (JC) ผมออกจากที่ประชุมดังกล่าวด้วยความเชื่อในอนาคตที่สดใสของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสองประเทศต้องมาที่นี่เพื่อพูดเกี่ยวกับปัญหาทวิภาคีระหว่างกัน ทั้ง ๆ ที่อาเซียนได้มีข้อตัดสินใจร่วมกันไปแล้วว่า กรณีเช่นนี้ควรได้รับการแก้ไขระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวข้องโดยตรง

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

ผมมาที่นี่เพื่อที่จะอธิบายให้มิตรประเทศในคณะมนตรีมั่นคงฯ ได้ทราบถึงข้อเท็จจริง โดยผมตั้งใจที่จะ หนึ่ง วางเรื่องที่อยู่เฉพาะหน้าเรานี้ให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องเหมาะสม สอง แจ้งให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ ณ บริเวณหนึ่งของชายแดนไทย-กัมพูชาซึ่งมีความยาว ๘๐๐ กิโลเมตร สาม เปิดเผยถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สี่ ให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่าง ๆ และลบล้างนิยายเรื่องเล่าที่ทางกัมพูชาได้กระพืออยู่ และ สุดท้าย ชี้แจงถึงแนวทางที่ประเทศไทยและอาเซียนมุ่งมั่นที่จะดำเนินต่อไป

 

ประเด็นแรก การวางเรื่องที่อยู่เฉพาะหน้าเรานี้ให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องเหมาะสมนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ในการนี้ ผมขอให้เพื่อนๆ ในคณะมนตรีมั่นคงฯ ละวางภาพต่าง ๆ ที่ได้เห็นผ่านทางโทรทัศน์ รวมถึงสำบัดสำนวนที่ชวนทะเลาะต่าง ๆ ไว้ชั่วคราวก่อน และลองนึกภาพประเทศเพื่อนบ้านสองประเทศที่มีพรมแดนร่วมกันยาวประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร หรือ ประมาณ ๕๐๐ ไมล์ ตลอดแนวชายแดนร่วมกันนี้ ประชาชนยังคงไปมาหาสู่ ทำมาค้าขาย และมีกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันโดยสันติเป็นประจำทุกวันตลอดทั้งปี ชาวไทยและชาวกัมพูชาเป็นเหมือนญาติพี่น้องที่มีความคล้ายคลึงกันในด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต

 

แต่ก็เช่นเดียวกับในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านสองประเทศที่มีพรมแดนร่วมกันนั้นเป็นเหมือนพี่น้อง ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาไม่ใช่ข้อยกเว้น พูดกันตามตรงแล้ว ความสัมพันธ์ของเรามีขึ้นมีลง มีทั้งช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี แต่เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาเกิดขึ้น เราก็จะแก้ไขปัญหานั้นด้วยกันผ่านการปรึกษาหารือและพูดคุยกัน แล้วเราก็เดินหน้าต่อไปด้วยกันในลักษณะที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย เราสามารถเอาชนะความท้าทายระดับทวิภาคีต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้ เพราะทั้งสองประเทศตระหนักว่า ในฐานะเพื่อนบ้านและสมาชิกของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น เราจะต้องอยู่เคียงข้างกัน เราไม่สามารถย้ายประเทศหนีจากกันได้

 

ประเด็นที่สอง เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ระหว่างวันที่ ๔ – ๗ กุมภาพันธ์ ผมขอเน้นย้ำว่า ในแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทหารไทยไม่เคยเป็นผู้ที่ยิงก่อน เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ กองกำลังทหารกัมพูชาได้เริ่มยิงโจมตีไปยังทหารไทยซึ่งอยู่ภายในดินแดนไทย ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการโจมตีตามไปอีกด้วยอาวุธหนักมากมาย

 

เป็นเรื่องน่าประหลาดมากที่การโจมตีของฝ่ายกัมพูชาเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังการประชุม JC ที่ประสบผลในหลายด้านและเป็นกันเอง ซึ่งผมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาเป็นประธานร่วมกันที่จังหวัดเสียมราฐ การประชุมดังกล่าวมีข้าราชการระดับสูงฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารของทั้งสองประเทศเข้าร่วม อันที่จริงแล้ว ผมและคณะได้รับทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวหลังจากที่เครื่องบินลงที่ท่าอากาศยานกรุงพนมเปญเพื่อเดินทางไปเยี่ยมพลเมืองชาวไทยที่นั่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลโดยสิ้นเชิงที่ทหารฝ่ายไทยจะเป็นฝ่ายเริ่มยิงไปยังกองกำลังทหารกัมพูชาก่อน ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการระดับสูงของไทยยังคงอยู่ในกรุงพนมเปญ

 

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเองได้กล่าวในลักษณะที่แทบจะยอมรับเสียเองว่า กัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน โดยในหนึ่งในสุนทรพจน์ที่กล่าวโจมตีไทยอย่างดุเดือดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์นั้น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้กล่าวว่า เป็นเรื่องไม่สำคัญว่า “ใครเริ่มยิงก่อน” ซึ่งจะเป็นเรื่องไม่สำคัญได้อย่างไร เมื่อฝ่ายหนึ่งเริ่มยิงไปยังพลเรือนและกองกำลังทหารของอีกฝ่ายหนึ่ง ก็คาดเดาได้ว่า อีกฝ่ายก็จะต้องป้องกันตนเองและประชาชนของตน

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

ประเทศไทยรักษาคำมั่นของเราตามที่ตกลงกันเสมอและก็คาดหวังว่าฝ่ายกัมพูชาจะทำเช่นเดียวกัน แต่เป็นที่น่าเสียใจที่ความคาดหวังดังกล่าวได้ถูกทำลายลงโดยสิ่งที่ฝ่ายกัมพูชาได้กระทำในพื้นที่ ผมขอยกตัวอย่างดังนี้

 

หลังจากเหตุการณ์ในช่วงบ่ายของวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ และอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ ฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ผู้บังคับการทหารระดับภูมิภาคของไทยและฝ่ายกัมพูชาได้พบกันที่ช่องสะงำในจังหวัดศรีสะเกษของประเทศไทยในช่วงสายของวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ในการพบกันดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงที่จะหยุดยิงทันทีและกำหนดมาตรการอื่น ๆ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดลง

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ เวลา ๑๘.๓๐ น. กองกำลังทหารกัมพูชาก็ได้ละเมิดข้อตกลงดังกล่าวโดยการยิงพลุส่องสว่างขึ้นไปบนท้องฟ้า ตามด้วยการยิงโจมตีด้วยอาวุธหนักไปที่ช่องโดนเอาว์และภูมะเขือในดินแดนไทย การโจมตีได้ขยายออกไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในดินแดนไทย ได้แก่ เขาสัตตะโสม พลาญยาว ช่องตาเฒ่า พื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร และหมู่บ้านภูมิซรอลซึ่งตั้งอยู่ลึกไปในดินแดนไทยประมาณ ๕ กิโลเมตร หลังแนวที่ตั้งทางทหารของไทยเข้าไปมาก ในการโจมตีดังกล่าวนี้ กองกำลังกัมพูชาได้ใช้อาวุธหลายชนิด รวมถึงปืนอากา AK-47จรวดอาร์พีจี และจรวดสนามหลายลำกล้องรุ่น BM-21นอกจากนี้ ในช่วงเช้าวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ กองกำลังทหารกัมพูชาได้เริ่มยิงอีกครั้งมายังทหารไทยที่ประจำอยู่ที่ภูมะเขือและพลาญยาวในดินแดนไทย โดยใช้อาวุธต่าง ๆ อาทิ จรวดอาร์พีจี

 

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อสิ่งปลูกสร้างของพลเรือนไทยหลายหลัง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายคนทั้งพลเรือนและทหารไทย ทหาร ๒ นาย และพลเรือน ๒ คนซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็ก ๑ คน ต้องสูญเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้านไทยผู้บริสุทธิ์ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณชายแดนในพื้นที่ที่ถูกโจมตีกว่า ๒๐,๐๐๐ คนต้องอพยพหนี ภาพของความเสียหายเหล่านี้ได้สร้างความสะเทือนใจแก่ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ ซึ่งไม่เคยนึกมาก่อนว่า ในชั่วชีวิตของเรานี้ คนไทยจะต้องตกอยู่สภาพเป็นผู้อพยพในประเทศของตัวเอง

 

ท่านประธานที่เคารพ ตลอดเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้ ฝ่ายไทยได้ใช้ความอดกลั้นอย่างถึงที่สุดเสมอมา แต่เมื่อต้องเผชิญกับการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนอย่างชัดเจน และการโจมตีโดยไม่มีการยั่วยุก่อนต่อประชาชนพลเรือนและทรัพย์สินของไทย ฝ่ายไทยก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการใช้สิทธิโดยชอบธรรมของเราในการปกป้องตนเอง ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าว เราได้ใช้ความอดกลั้นอย่างที่สุด บนพื้นฐานของความจำเป็น พอเหมาะพอควร และมุ่งเป้าโดยตรงไปยังเป้าหมายทางทหารที่ฝ่ายกัมพูชาได้โจมตีออกมาเท่านั้น

 

นอกจากนี้ พวกเรารู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ควรประณามที่ทหารกัมพูชาได้ใช้ปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร อันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าฝ่ายกัมพูชาจะปฏิเสธเรื่องดังกล่าว แต่ผมเชื่อว่าทั้งโลกได้เห็นกับตาแล้วจากรูปภาพหลายรูปที่แสดงทหารกัมพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นค่ายทหารและฐานในการโจมตี รูปภาพเหล่านี้ถ่ายและเผยแพร่โดยทั้งสื่อกัมพูชาและสื่อต่างประเทศ ซึ่งผมคงไม่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้เนื่องจากรูปภาพเหล่านี้บอกความหมายได้ดีกว่าคำพูดมากมายนัก

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

เรื่องนี้นำมาสู่ประเด็นที่สามของผม เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมองเลยจากสิ่งที่กัมพูชาพูดไปยังเหตุจูงใจเบื้องหลังของการรุกรานที่มีการไตร่ตรองไว้ก่อนล่วงหน้านี้ เช่นเดียวกับละครบรอด์เวย์ การรู้เค้าโครงของเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ

 

เค้าโครงของเรื่องก็คือ สำหรับกัมพูชาแล้ว กัมพูชาต้องการสร้างสถานการณ์บริเวณชายแดนใกล้ปราสาทพระวิหารเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับยุทธศาสตร์การเมืองที่จะเลี่ยงการเจรจาทวิภาคีที่กำลังดำเนินอยู่และทำให้ประเด็นที่โดยสาระแล้วเป็นเรื่องทวิภาคี กลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศ ตัวอย่างหนึ่ง คือ การโจมตีของกัมพูชาเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ซึ่งจงใจเริ่มต้นทันทีที่พระอาทิตย์ตก การใช้พลุส่องสว่างอย่างเป็นระบบเพื่อนำทางปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชาเป็นการเน้นย้ำอย่างปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าการโจมตีนี้ได้มีการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าและวางแผนเป็นอย่างดีไว้ก่อนแล้ว ความรวดเร็วของการส่งหนังสือจากนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ เรียกร้องให้มีการประชุมเร่งด่วนเพียงไม่นานหลังจากที่การโจมตีของฝ่ายกัมพูชาเริ่มต้นขึ้น ก็เป็นการยืนยันลักษณะของการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าของการโจมตีนี้

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของเค้าโครงเรื่องนี้มีความชัดเจน นั่นคือ เพื่อเลี่ยงการเจรจาทวิภาคีเกี่ยวกับเขตแดนที่กำลังดำเนินอยู่ และยืมมือสหประชาชาติเพื่อแผ้วถางทางสำหรับการที่กัมพูชาจะผลักดันให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งต่อไปที่ประเทศบาห์เรนในกลางปีนี้ ให้ความเห็นชอบแก่แผนบริหารจัดการสำหรับปราสาทพระวิหารของตนให้สำเร็จให้ได้แม้ว่าจะมีปัญหาอยู่อีกมากก็ตาม การเจรจาทวิภาคีกับประเทศไทยเกี่ยวกับเขตแดนบริเวณใกล้ปราสาทพระวิหารได้กลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองในขณะนี้ของกัมพูชา ดังนั้นจึงต้องกำจัดให้พ้นทาง

 

เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องชี้ให้เห็นด้วยว่า ตลอดช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของกัมพูชา ประเด็นเรื่องเขตแดนเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้ได้ผลเสมอสำหรับการเมืองภายใน โดยเรื่องเขตแดนกับประเทศไทยถือเป็นไพ่ทางเลือกที่ใช้สะดวกและได้ผลมากที่สุด ประเทศไทยได้กลายเป็นผีร้ายที่ปลุกได้ง่ายสำหรับการเมืองภายในกัมพูชา วันนี้กลยุทธ์นี้ก็ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

ไม่มีสิ่งใดสามารถให้ความชอบธรรมแก่การใช้ยุทธวิธีทางทหารเช่นนี้เพื่อผลทางการเมืองได้ ไม่มีสิ่งใดสามารถให้ความชอบธรรมกับการเล่นเกมกับชีวิตของประชาชนเพื่อผลทางการเมือง คณะมนตรีความมั่นคงฯ ไม่ควรสนับสนุนการใช้กลยุทธ์เช่นนี้

 

ผมขอเน้นย้ำ ณ ที่นี้ อย่างชัดเจนและจริงใจที่สุดว่า ประเทศไทยไม่มีความมุ่งร้ายต่อประเทศกัมพูชา เราจะมีได้อย่างไร? ทุกอย่างที่เรามีคือ มิตรภาพ ความสุจริตใจ และความจริงจังที่จะทำงานร่วมกับกัมพูชาเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ

 

เราได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาและส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรกับกัมพูชา เราเคยให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชานับล้านคน เราสนับสนุนกระบวนการสันติภาพในกัมพูชาโดยทหารไทยได้มีส่วนร่วมในความพยายามรักษาสันติภาพในกัมพูชาภายใต้สหประชาชาติและมีบทบาทแข็งขันในการบูรณะประเทศกัมพูชา เรามีความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนกับกัมพูชามากมาย เราให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาอย่างสม่ำเสมอในหลายสาขา อาทิ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข เกษตรกรรม โครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวสั้น ๆ คือ สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศกัมพูชา ก็คือสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยนั่นเอง

 

ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่มีความตั้งใจและไม่มีความปรารถนาที่จะยึดครองอาณาเขตของประเทศเพื่อนบ้าน เราเพียงแต่ต้องการที่จะอยู่อย่างสันติและสมัครสมานสามัคคีกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา เราไม่ต้องการความขัดแย้ง เราไม่ต้องการเห็นคนบริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือได้รับผลกระทบในการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าประเทศกัมพูชาจะทุกข์ยากมามากกับปัญหาการเมืองภายในของตน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากัมพูชาจะสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรณีนี้ กัมพูชาโจมตีประเทศไทยเอาเสียเฉย ๆ แล้วก็กลับไปร้องแรกแหกกะเฌอเรียกร้องความเห็นใจและกล่าวโทษประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นฝ่ายถูกโจมตี

 

สำหรับคำขอให้หยุดยิงของกัมพูชานั้น ประเทศไทยไม่มีปัญหากับเรื่องดังกล่าว เพราะเรายึดมั่นในสันติภาพ ไม่เคยเปิดฉากโจมตีก่อน และรักษาข้อตกลงของฝ่ายเราในอันที่จะลดความตึงเครียดลงเสมอ คำขอนี้ควรมุ่งไปที่ฝ่ายกัมพูชามากกว่า เพื่อที่กัมพูชาจะได้รักษาสัญญาของฝ่ายตน ฝ่ายไทยจะยังคงใช้ความอดกลั้นอย่างที่สุดต่อการยั่วยุต่าง ๆ ต่อไป

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

ผมขอกล่าวถึงประเด็นที่ ๔ มีความจำเป็นที่ผมจะต้องลบล้างนิยายกล่าวอ้างต่าง ๆ ที่กัมพูชากระพืออยู่ ซึ่งได้สร้างความสับสนแก่มิตรของเราหลายฝ่าย

 

1 ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี ๒๕๐๕ แล้วอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ศาลฯ ได้วินิจฉัยเองว่า ศาลฯ ไม่มีเขตอำนาจในประเด็นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา และปฏิเสธความพยายามของกัมพูชาที่จะขยายขอบเขตของคำพิพากษาให้ครอบคลุมประเด็นดังกล่าว แผนที่ที่กัมพูชาใช้เป็นพื้นฐานของความพยายามดังกล่าวก็มิได้รับการผนวกเข้ากับคำพิพากษาของศาลโลก ดังนั้น จึงไม่มีสถานะทางกฎหมายในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง เพียงแต่ได้รับการผนวกเข้ากับคำฟ้องของกัมพูชาต่อศาลฯ เท่านั้น

 

ที่สำคัญคือ เป็นความเข้าใจร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าจะหาข้อยุติในประเด็นเขตแดนโดยการเจรจาทวิภาคีภายใต้กรอบที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ปี ๒๕๔๓ เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมถึงการยอมรับของกัมพูชาว่า เขตแดนไทย-กัมพูชาตลอดแนวยังคงต้องหาข้อยุติโดยการเจรจาทวิภาคี บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ระบุไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการร่วมเขตแดนไทย-กัมพูชา (JBC) จะ “จัดทำแผนที่ของเขตแดนทางบกที่ได้มีการสำรวจและจัดทำหลักเขต” เป็นหนึ่งในงานของ JBC

 

สำหรับประเทศไทย เรามีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาชายแดนทั้งหมดรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารโดยสันติและเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและความตกลงทวิภาคี ภายใต้กรอบและกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ โดยเฉพาะ MOU และกลไก JBC ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งทั้งสองประเทศได้ผูกพันตนเองอยู่

 

2 ความตึงเครียดที่มีอยู่ต่อเนื่องนี้เป็นผลโดยตรงจากความพยายามฝ่ายเดียวของกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ถึงแม้ว่าตามข้อเท็จจริง พื้นที่โดยรอบยังคงต้องขึ้นกับการเจรจาทวิภาคีภายใต้ JBC ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านทั้งสองฝั่งซึ่งหลายคนเป็นญาติพี่น้องกัน ได้อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และนักท่องเที่ยวก็สามารถเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ และโดยตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของปราสาท และความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะซ่อมแซมปราสาท ประเทศไทยก็ได้เคยเสนอที่จะช่วยเหลือกัมพูชาในการฟื้นฟูปราสาทนี้ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ยังคงมีอยู่

 

ในขณะเดียวกัน ก็จำเป็นที่คณะกรรมการมรดกโลกและสำนักเลขาธิการ UNESCO ต้องระงับการดำเนินกิจกรรมเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ อันจะเป็นการขัดขวางหรือด่วนตัดสินผลงานของ JBC ทั้งนี้ เพื่อที่จะช่วยสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้อย่างยั่งยืน

 

กัมพูชาเองได้ยอมรับอย่างเป็นทางการในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งล่าสุดที่กรุงบราซิเลียเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมาว่า แผนบริหารจัดการเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารจะขึ้นอยู่กับผลสรุปของงานของ JBC ดังนี้

 

“รัฐภาคีกัมพูชา ได้อธิบายในรายงานว่า จะมีแผนที่ที่เสร็จสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อได้จัดทำหลักเขตแดนทางบกในพื้นที่เสร็จสิ้น โดยการตกลงร่วมกันของรัฐภาคีกัมพูชาและไทยเกี่ยวกับผลสรุปสุดท้ายของงานของ JBC”

 

3 กลไกทวิภาคียังมิได้ใช้อย่างเต็มที่จนถึงที่สุด และไทยยึดมั่นกับกระบวนการนี้โดยสุจริตใจ เพราะเราเชื่อว่า ประเด็นเขตแดนระหว่างสองประเทศควรได้รับการแก้ไขโดยประเทศที่เกี่ยวข้องสองประเทศเป็นการดีที่สุด ดังเห็นได้จากกรณีข้อพิพาททางเขตแดนหลายกรณีทั่วโลก กระบวนการทวิภาคีจะต้องใช้เวลาและไม่สามารถเร่งรัดได้ การแก้ไขปัญหาเขตแดนต้องใช้ความอดทนและความสุจริตใจที่จะบรรลุซึ่งผลที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันได้ ดังเช่นตัวอย่างของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหพันธรัฐรัสเซียที่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นเขตแดนในปี ๒๕๕๑ ภายหลังจากที่ได้เจรจากันนานกว่า ๔๐ ปี

 

ประเทศไทยได้รอคอยกว่า ๓๐ ปีเพื่อให้กัมพูชาได้แก้ไขปัญหาภายในก่อนที่จะสามารถเริ่มเจรจาเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกได้ ประเทศไทยเข้าใจข้อจำกัดของกัมพูชาในขณะนั้น เรามิได้กดดันกัมพูชาจนกระทั่งกัมพูชาพร้อม

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประเทศไทยขอย้ำว่า รัฐบาลไทยไม่เคยมีความตั้งใจที่จะถ่วงเวลาการให้ความเห็นชอบบันทึกรายงานการประชุม JBC ๓ ครั้งที่ผ่านมาโดยรัฐสภา บันทึกรายงานการประชุมดังกล่าวต้องเสนอต่อรัฐสภา และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาตามกระบวนการรัฐธรรมนูญของไทย

 

เช่นเดียวกับประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ รัฐบาลไทยในฐานะฝ่ายบริหารไม่สามารถสั่งการฝ่ายนิติบัญญัติได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่า รัฐสภาจะให้ความเห็นชอบรายงานการประชุมในโอกาสแรก ผมยินดีที่จะแจ้งต่อคณะมนตรีฯ ว่า ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งรัฐสภาเป็นผู้แต่งตั้งให้พิจารณาร่างบันทึกรายงานการประชุม JBC ได้ประกาศว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้สรุปข้อพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว และจะเสนอข้อพิจารณาต่อรัฐสภาในเร็ว ๆ นี้ ดังนั้น จึงไม่เป็นการเหมาะสมที่กัมพูชาจะด่วนตัดสินการพิจารณาของรัฐสภาไทยเป็นการล่วงหน้า

 

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว รัฐสภาไทยได้เห็นชอบข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอ ในประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำหนังสือสัญญา ภายหลังที่ได้พิจารณากันเป็นเวลานาน การแก้ไขดังกล่าวช่วยขจัดความไม่แน่นอนในกระบวนการจัดทำหนังสือสัญญา นี่ถือเป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลไทย

 

ผมประสงค์จะชี้ให้เห็นด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชาที่กัมพูชาเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ดังที่สะท้อนอยู่ในรายงานการประชุมอย่างเป็นทางการ กัมพูชาได้แสดงความเข้าใจในกระบวนการภายในทางด้านรัฐสภาของไทย และยังได้แสดงความหวังว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อทั้งสองฝ่ายจะได้ดำเนินการเกี่ยวกับงาน JBC ต่อได้อย่างรวดเร็วต่อไป จึงเป็นที่น่าพิศวงที่เพียงแค่ช่วงเวลาเพียง ๑๐ วันหลังจากนั้น รัฐบาลกัมพูชาได้เปลี่ยนใจไปเป็นตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

 

ผมขอเน้นด้วยว่า ประเทศไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้าง และในฐานะรัฐบาลที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบในสังคมประชาธิปไตย รัฐบาลไทยมีหน้าที่ต้องรับฟังทุกความเห็นในสังคม เพื่อสะท้อนให้เห็นความรับผิดชอบนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมเองได้ใช้เวลา ๑๗ ชั่วโมงในรัฐสภาในการตอบคำถามสมาชิกรัฐสภาเกี่ยวกับประเด็นนี้ ประเทศไทยหวังว่าบรรดามิตรของเราจะเคารพกระบวนการประชาธิปไตยของเรา

 

ในการนี้ แม้ว่าบันทึกรายงานการประชุม JBC จะยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา รัฐบาลไทยก็ได้ยื่นข้อเสนอหลายข้อ โดยสุจริตใจ ต่อกัมพูชาให้จัดการประชุม JBC เพื่อผลักดันงานที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนทางบก เป็นที่น่าเสียใจว่าข้อเสนอทั้งหมดของเราถูกปฏิเสธ ล่าสุดเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ประเทศไทยได้ยื่นข้อเสนอต่อกัมพูชาอีกครั้งให้จัดการประชุม JBC ในประเทศไทยในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้ กัมพูชาได้ตอบรับข้อเสนอ แต่เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เราได้รับแจ้งจากกัมพูชาอีกครั้งว่าไม่ต้องการประชุม อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสุจริตใจและความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขประเด็นปัญหาปัจจุบันด้วยการเจรจาอย่างสันติ เราได้ส่งหนังสือถึงกัมพูชาเรียกร้องให้กลับมาเข้าร่วมกระบวนการ JBC ตามที่กัมพูชาได้ตกลงไว้ก่อนหน้านี้ ผมขอเรียกร้องให้มิตรฝ่ายกัมพูชาของผมตอบรับคำเชิญนี้

 

4 ประเทศไทยขอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงถึงข้อกล่าวหาที่ไร้หลักฐานของกัมพูชาที่ว่าประเทศไทยใช้ระเบิดพวงในระหว่างการปะทะกันเมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศไทยให้การสนับสนุนความพยายามในการลดกำลังอาวุธอย่างแข็งขัน ซึ่งรวมถึงการกำจัดอาวุธระเบิดพวง เรากำลังพิจารณาอย่างจริงจังที่จะเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

มาถึงประเด็นสุดท้ายของผม นั่นคือ แนวทางต่อไปที่ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มุ่งมั่นที่จะดำเนินต่อไป

 

ผมขอยืนยันต่อคณะมนตรีฯ ว่า แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และไม่ว่าจะน่าสลดใจเพียงใด ประเทศไทยก็ยังคงเชื่อว่าการร่วมมือกันบนพื้นฐานของมิตรภาพและความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ทั้งสองประเทศก้าวผ่านปัญหาในปัจจุบันไปได้เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศทั้งสอง ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชามีทั้งช่วงขึ้นและช่วงลง แต่ ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็ได้รับการยับยั้งและแก้ไขอย่างประสบผลเสมอมา ในครั้งนี้ก็ไม่แตกต่างกัน

 

การปะทะกันบริเวณชายแดนที่เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนนี้จำกัดทั้งในแง่พื้นที่และในแง่ระยะเวลา สถานการณ์ในขณะนี้ได้สงบลงแล้ว ชาวบ้านได้ทยอยเดินทางกลับบ้านและเริ่มกลับเข้าสู่วิถีชีวิตตามปกติ ประเทศไทยยึดมั่นที่จะดำเนินการทุกอย่างที่สามารถกระทำได้ต่อไปเพื่อทำให้มั่นใจว่าจะมีความสงบที่ยั่งยืนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อันที่จริง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยมีกำหนดการที่จะเดินทางเยือนกรุงพนมเปญในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กุมภาพันธ์นี้ เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงสินค้าไทย (Thailand Trade Fair) ประจำปี ณ กรุงพนมเปญ ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา โดยในระหว่างที่พำนักในกรุงพนมเปญ รองนายกรัฐมนตรีไทยมีกำหนดการที่จะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีกัมพูชาด้วย

 

ในขณะเดียวกัน เราขอขอบคุณต่อการสนับสนุนและกำลังใจจากครอบครัวอาเซียน เรายินดีต่อการเยือนกัมพูชาและไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียน เพื่อปรึกษาหารือเมื่อวันที่ ๗ และ ๘ กุมภาพันธ์ตามลำดับ เราเห็นพ้องกับข้อสังเกตของประธานอาเซียนว่า ปัญหาระหว่างไทยและกัมพูชาโดยสาระแล้วเป็นประเด็นทวิภาคี และทั้งสองประเทศควรแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีผ่านกลไกการหารือทวิภาคี โดยที่ภูมิภาคสามารถให้การสนับสนุนและกำลังใจได้ตามความเหมาะสม เช่นเดียวกับกัมพูชา เราได้เห็นพ้องด้วยกับข้อเสนอของประธานอาเซียนที่จะจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงจาการ์ตา ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

 

ท่านประธานที่เคารพ

 

โดยสรุป คณะผู้แทนของผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยและกัมพูชาต้องมองไปสู่อนาคตด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพวกเรากำลังก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เราตระหนักว่า สายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงไทยและกัมพูชาเข้าไว้ด้วยกันนั้น ยิ่งใหญ่กว่าความแตกต่างที่แบ่งแยกทั้งสองประเทศมากนัก เราไม่สามารถเคลื่อนย้ายหนีกันไปได้ เราต้องอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ การกระทำใด ๆ ที่ไม่บังควรเพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองในระยะสั้นจะสุ่มเสี่ยงต่อการสร้างรอยแผลเป็นที่บาดลึกอีกแผลหนึ่งในความรู้สึกของประชาชนของทั้งสองประเทศ ประชาชนผู้ซึ่งจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันต่อไปอีกนานหลังจากการประชุมนี้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว

 

ประเด็นเบื้องหน้าเราในวันนี้ในสาระแล้วเป็นปัญหาทางการเมือง และในที่สุดแล้ว ก็จำเป็นต้องได้เจตจำนงทางการเมืองจากทั้งสองฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประเทศไทยยังคงยึดมั่นที่จะทำงานร่วมกับกัมพูชาอย่างใกล้ชิดและโดยสุจริตใจ ผ่านกรอบการเจรจาทวิภาคีต่าง ๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ ประเทศไทยได้ยื่นมือออกมาแล้วและกำลังรอคอยการการแสดงเจตจำนงทางการเมืองอย่างจริงใจจากกัมพูชา เราหวังว่า เมื่อกัมพูชาได้คิดทบทวนอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับอนาคตในระยะยาวของความสัมพันธ์ในภาพรวมของเรา รวมทั้งผลประโยชน์ของภูมิภาคอย่างดีแล้ว กัมพูชาจะตอบรับความปรารถนาดีและความจริงใจของเรา ดังนั้น ผมจึงใคร่ขอเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ให้การสนับสนุนแก่การดำเนินการอย่างต่อเนื่องของกระบวนการทวิภาคี ซึ่งจะสามารถทำให้เข้มแข็งขึ้นได้จากการสนับสนุนและกำลังใจจากครอบครัวอาเซียน แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดทั้งต่อประเทศไทยและต่อประเทศกัมพูชา รวมทั้งภูมิภาคโดยรวมด้วย

 

ผมขอขอบคุณ ท่านประธาน

 

Source : komchadluek/AFP (Image)

 

ภาพที่ 4.

Photobucket

AP PHOTO 3 DAYS AGO

In this photo released by China’s Xinhua News Agency, Thai Foreign Minister Kasit Piromya speaks to the media at the U.N. headquarters after attendeding a U.N. Security Council close-door meeting on Monday, Feb. 14, 2011. The UNSC expressed “grave concern” Monday at recent border clashes between Thailand and Cambodia and called on the two sides to establish a permanent cease-fire and settle the dispute peacefully.

Somtos prous oun min chong khernh bong chheu chab.mp3 – Khmer Song

Singer: Takma

Album: MPRO vol 26

สัมผัส…อย่างลึกซึ้ง ซึ่งสำเนียง เสียงภายใน

wannaprasart blog

2 thoughts on “14 February 2011 Statement by Kasit Piromya,at UNSC ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ นายกษิต ภิรมย์

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.